วิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ มีดังนี้
บริการวิศวกรรมควบคุม สาขา วิศวกรรมอุตสาหการ ตามกฎกระทรวง กําหนดสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2565 ประเภทและขนาดของงานวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ มีดังต่อไปนี้
1. งานให้คําปรึกษา งานวางโครงการ งานออกแบบและคํานวณ งานควบคุมการสร้างหรือการผลิตและงานพิจารณาตรวจสอบ
โรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เช่น การวางผังโรงงาน หรือการวางผังการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรในโรงงาน
ระบบการผลิต การสร้างหรือการประกอบสิ่งใดๆ กระบวนการผลิตวัสดุสําเร็จรูป หรือกึ่งสําเร็จรูป การหลอม การหล่อ การรีด การเชื่อม การกลึง การเคลือบโลหะ การอบชุบ การชุบ หรือการแปรรูปโลหะ ไม้ หรือวัสดุอื่นๆ ที่ใช้คนงานตั้งแต่ ห้าสิบคนขึ้นไป หรือที่มีการลงทุนตั้งแต่ยี่สิบล้านบาทขึ้นไปโดยไม่รวมค่าที่ดิน
ระบบสนับสนุนการผลิต ระบบความปลอดภัย ระบบกึ่งอัตโนมัติ ระบบอัตโนมัติ หรือระบบอัจฉริยะ สําหรับทํา ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบํารุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลําเลียง เก็บรักษา หรือทําลายสิ่งใด ๆ ที่ใช้คนงานตั้งแต่ ห้าสิบคนขึ้นไป หรือที่มีการลงทุนตั้งแต่ยี่สิบล้านบาทขึ้นไปโดยไม่รวมค่าที่ดิน
การถลุงแร่และการทําโลหะให้บริสุทธิ์ที่มีปริมาณการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนี้
ดีบุก ตั้งแต่ ๒ ตันต่อวันขึ้นไป
ตะกั่ว สังกะสี ทองแดง หรือพลวง ตั้งแต่ ๕ ตันต่อวันขึ้นไป
เหล็กหรือเหล็กกล้า ตั้งแต่ ๑๐ ตันต่อวันขึ้นไป
กากกัมมันตรังสีตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
ระบบการจัดการด้านวิศวกรรมอุตสาหการในอุตสาหกรรมการผลิตหรืออุตสาหกรรม บริการที่มีการประเมินความเสี่ยง การจัดการความปลอดภัย การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ และการจัดการระบบโลจิสติกส์ ที่มีการลงทุนตั้งแต่ยี่สิบล้านบาทขึ้นไปโดยไม่รวมค่าที่ดิน
ระบบดับเพลิงหรือระบบป้องกันอัคคีภัย ที่มีมูลค่ารวมกันตั้งแต่สามล้านบาทขึ้นไป หรือที่มีพื้นที่ป้องกันอัคคีภัยตั้งแต่ ๒,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป
งานอํานวยการใช้
สิ่งก่อสร้างและเครื่องจักรที่ใช้ในการควบคุมมลพิษ การบําบัดของเสีย การกําจัดสารพิษ การกําจัดวัตถุอันตราย การจัดการกากกัมมันตรังสี หรือการกําจัดสิ่งใดๆ ของโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน หรือที่มีการลงทุนตั้งแต่ยี่ สิบล้านบาทขึ้นไปโดยไม่รวมค่าที่ดิน
ระบบระบายอากาศ ระบบแสงสว่าง และระบบอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษ การบําบัดของเสีย การกําจัดสารพิษ การกําจัดวัตถุอันตราย การจัดการกากกัมมันตรังสี หรือการกําจัดสิ่งใดๆ ของโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน หรือที่มีการลงทุนตั้งแต่ยี่สิบล้านบาทขึ้นไปโดยไม่รวมค่าที่ดิน
กระบวนการผลิตที่มีปฏิกิริยาเคมี ใช้สารไวไฟ ใช้สารอันตราย ใช้การกลั่นลําดับส่วน หรือกระทําภายในอุปกรณ์ที่ มีความดันสูงกว่าบรรยากาศในโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน หรือที่มีการลงทุนตั้งแต่ยี่สิบล้านบาทขึ้นไปโดยไม่รวมค่าที่ดิน
ระบบดับเพลิงหรือระบบป้องกันอัคคีภัย ที่มีมูลค่ารวมกันตั้งแต่สามล้านบาทขึ้นไป หรือที่มีพื้นที่ป้องกันอคคั คีภัยตั้งแต่ ๒,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป
ระบบหรือเครื่องจักรที่ใช้ในระบบการผลิต ระบบสนับสนุนการผลิต ระบบกึ่งอัตโนมัติ ระบบอัตโนมัติ ระบบอัจฉริยะ หรือระบบความปลอดภัย สําหรับทํา ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบํารุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลําเลียง เก็บรักษา หรือทําลายสิ่งใดๆ ที่ใช้คนงานตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป หรือที่มีการลงทุนตั้งแต่ยี่สิบล้านบาทขึ้นไปโดยไม่รวมค่าที่ดิน